27.5 C
Bangkok
วันพุธ, ธันวาคม 18, 2024
หน้าแรกTravel12 เดือน 7 ดาว 9 ตะวันจุดไฟ เล่นเทียน ประกวดแสงสีปราสาทไม้เกี๊ยะ

จุดไฟ เล่นเทียน ประกวดแสงสีปราสาทไม้เกี๊ยะ

หากเอ่ยถึง จองพารา เชื่อว่าอาจจะยังมีอีกหลาย ๆ คนที่ยังไม่ทราบว่าคืออะไรซึ่ง จองพารา เป็นหนึ่งในเทศกาลแห่งสีสันวันแห่ปราสาทไม้เกี๊ยะ จ.แม่ฮ่องสอน ที่ถูกจัดขึ้นในวันออกพรรษาทุกๆปี เป็นประเพณียิ่งใหญ่ของชาวไทยใหญ่ ซึ่งเป็นเป็นวันที่ปราสาทไม้จำลองจะถูกจุดเทียน ประดับไฟนับหมื่นนับแสนดวง งดงามราวกับอยู่เมืองสวรรค์ เพราะยามค่ำคืนกันทุกบ้านเรือน วัดวาอารามต่าง ๆ จะจุดผางจุดเทียนสว่างไสว  นับได้ว่าเป็นเทศกาลแห่งสีสันวันออกพรรษาที่หาดูได้ยากยังเป็นความอเมซิ่งที่นี่ที่เดียวในเมืองเท่านั้นไทย

งานประเพณีปอยเหลิน สิบเอ็ด  เป็นอีกสิ่งมหัศจรรย์เมืองไทยต้องไปสัมผัส ด้วยความเชื่อของชาวไทยใหญ่ก่อนถึงวันงานจะมีการจัดเตรียมสร้าง “จองพารา”  หรือ ปราสาทไม้เกี๊ยะ ซึ่งจะทำออกมาเป็นปราสาทจำลองที่ทำด้วยโครงไม้ไผ่ ประดับลวดลายด้วยกระดาษสา กระดาษสีต่าง ๆ หน่อกล้วย อ้อย โคมไฟที่นำมาตกแต่งอย่างสวยงาม เพื่อใช้สมมติเป็นปราสาทรับเสด็จพระพุทธเจ้าหลังจากเสด็จขึ้นไปโปรดพระมารดาบนสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ จากนั้นก็จะทำการยกปราสาทไม้เกี๊ยะ ขึ้นไว้นอกชายคา หรือบริเวณกลางลานทั้งที่บ้านและที่วัด จองพาราหรือปราสาทไม้เกี๊ยะจึงเป็นส่วนโดดเด่นของประเพณี “ปอยเหลินสิบเอ็ด” และเป็นเทศกาลแห่งสีสันวันออกพรรษาของชาวไทยใหญ่ที่สำคัญมากสำหรับชาวแม่ฮ่องสอน หาดูได้ที่นี่แห่งเดียวในเมืองไทย

เดือนที่ควรไปท่องเที่ยว

เทศกาลจองพารา หรือ “จุดไฟเล่นเทียน ประกวดแสงสีปราสาทไม้เกี๊ยะ” เป็นประเพณีของเมืองแม่ฮ่องสอน ที่เป็นเอกลักษณ์ และเป็นประเพณีของชาวไทยใหญ่ ที่เกี่ยวข้องกับพุทธศาสนา โดยจัดขึ้นในช่วงเทศกาลออกพรรษาในช่วงเดือนตุลาคม หรือพฤศจิกายน ซึ่งตรงกับวันออกพรรษา ซึ่งช่วงเวลาที่ดีที่สุดแห่งการเริ่มชมพิธีคือช่วงเวลาราว 18.45 น. หรือใกล้ค่ำ ในฤดูกาลช่วงวันออกพรรษา หรือวันขึ้น 11 ค่ำ เดือน 11 ไปจนถึงวันแรม 8 ค่ำ เดือน 11 โดยมีจุดชมวิวที่ดีที่สุดคือบริเวณหนองจองคำ หน้าวัดจองคำ และวัดจองกลาง

กิจกรรมแนะนำเมื่อมาท่องเที่ยว

1. ถ่ายรูปสวย ๆ เพื่อเก็บภาพแห่งความทรงจำ

เพราะเทศกาลจองพารา หรือแห่ปราสาทไม้เกี๊ยะ เป็นประเพณีที่มีความสำคัญของชาวไทย และยังเป็นหนึ่งเดียวในโลกที่หาดูได้ยาก เมื่อคุณได้มีโอกาสมาสัมผัสกับประเพณี หนึ่งกิจกรรมที่เชื่อว่านักท่องเที่ยวหลาย ๆ คนอาจจะขาดไม่ได้ เมื่อมายังสถานที่เหล่านี้ คือการถ่ายภาพปราสาทไม้เกี๊ยะสวย ๆ หลากหลายการดีไซน์  และพิธีต่าง ๆ ตลอดงาน รวมทั้งแสงสีของไฟที่สวยงามตลอดสองข้างทางอีกด้วย

2. ชมการแห่ขบวนจองพารา

แต่ละหมู่บ้านในเขตเทศบาลเมืองแม่ฮ่องสอนได้สร้าง ปราสาทไม้เกี๊ยะ เข้าร่วมพิธีขบวนแห่จองพาราซึ่งตกแต่งอย่างสวยงามเพื่อร่วมเข้าประกวดจองพารา ซึ่งขบวนแห่ก็มีการแสดงทางศิลปวัฒนธรรม อย่างการฟ้อนไทยใหญ่ รำนก ฟ้อนกินรี รวมถึงวงดนตรีพื้นเมืองที่มาร่วมบรรเลงอย่างสนุกครื้นเครง มีการประกวดกลองมองเซิง  การประกวดกลองก้นยาว  การประกวดมองกาก การประกวดชุดไตชาย / หญิง  ประกวดรำไต  การประกวดก้าแลว ซึ่งเป็นการ่ายรำที่มีดาบเป็นอุปกรณ์ มีลีลาอ่อนช้อย นิ่มนวล การประกวดก้าลาย  เป็นการฟ้อนรำที่ประยุกต์มาจากลีลาการต่อสู้ด้วยมือเปล่า

3. ตักบาตรเทโวโรหนะ

เช้าวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 11 ซึ่งเป็นวันออกพรรษาประชาชนชาวไทยใหญ่ จะพร้อมใจกันตักบาตรเทโวโรหนะ บริเวณวัดพระธาตุดอยกองมู โดยมีพระภิกษุ สามเณรและประชาชน นักท่องเที่ยวนับร้อยนับพันจะเรียงรายสองข้างทางบันไดนาค เพื่อทำบุญตักบาตร เรื่อยลงมาจนถึงวัดม่วยต่อซึ่งอยู่บริเวณเชิงเขา

4. ร่วมพิธี “ซอมต่อ”

ในช่วงเย็นจะมีการนำดอกไม้ธูปเทียนและขนมข้าวต้มไปขอขมาบิดามารดาและญาติผู้ใหญ่ก่อนย่ำรุ่งของวันแรม 1 ค่ำ ซึ่งจะมีพิธี “ซอมต่อ” เป็นการอุทิศเครื่องเซ่นแก่สิ่งที่ชาวไตถือว่ามีบุญคุณในการดำเนินชีวิต ด้วยการนำกระทงอาหารเล็ก ๆ ที่จุดเทียนติดไว้ด้วยไปตั้งไว้ตามสถานที่ต่าง ๆ  ทำให้เราเห็นแสงประทีปนับร้อยนับพันดวงตามวัด สถูปและตามบ้านเรือน ตลอดระยะ เวลาของการจัดงานตั้งแต่แรม 1 ค่ำไปจนถึงแรม 8 ค่ำ ซึ่งจะมีการถวายข้าวที่จองพาราวันละครั้ง และจุดเทียนหรือประทีป โคมไฟไว้ตลอดในช่วงเวลาตลอดเทศกาล  อีกทั้งมีการละเล่นเฉลิมฉลองหลายชนิด อย่างการฟ้อนโต ฟ้อนก้าแลว (ฟ้อนดาบ) ฟ้อนรำรูปสัตว์ต่าง ๆ ฯลฯ

5. งานวันสุดท้าย

ก่อนจะถึงวันแรม 8 ค่ำ จะมีพิธี “หลู่เตนเหง” ซึ่งเป็นการถวายเทียนพันเล่ม โดยประชาชนจะมาร่วมกันแห่ต้นเทียนไปถวายที่วัด และใน “วันก๋อยจ๊อด” คือวันแรม 8 ค่ำ ซึ่งเป็นวันสุดท้ายของเทศกาลออกพรรษา จะมีพิธี “ถวายไม้เกี๊ยะ” โดยนำฟืนจากไม้เกี๊ยะหรือสนภูเขามามัดรวมกันเป็นต้นสูง แล้วจึงนำเข้าขบวนแห่ ที่ประกอบไปด้วย การฟ้อนรำรูปสัตว์ต่าง ๆ และเครื่องประ โคม เพื่อทำพิธีจุดถวายเป็นพุทธบูชาที่ลานวัด เป็นอันสิ้นสุดเทศกาลออกพรรษาของชาวไต

ข้อควรรู้

  1. เพราะมีการจัดประกวดจองพาราทำให้ปัจจุบันมีวัด ชุมชน และหน่วยงานนำปราสาทไม้เกี๊ยะ มาร่วมในขบวนแห่มาก มาย แต่ละหลังจัดสร้างอย่างสวย งามใหญ่โต อลังการ และประดับตกแต่งด้วยไฟและกระดาษสีอย่างสวยงามตั้งแต่ส่วนฐานไปจนถึงยอด ซึ่งกรรมการจะพิจารณาจาก ลวดลาย ทรง และวัสดุที่ทำเป็นสำคัญ และต้องไม่มีขนาดใหญ่กว่ามาตรฐานเกินไป
  2. ตลาดนัดขายของกันทั้งวันทั้งคืน ประเพณีปอยเหลินสิบเอ็ด หรือประเพณีออกพรรษาซึ่งเป็นประเพณีที่มีความสำคัญมาก นอกจากขบวนแห่ปราสาทไม้เกี๊ยะ และการแสดงต่าง ๆ แล้ว ภายในงานยังมีตลาดนัดขายของกันทั้งวันทั้งคืนเพื่อให้ประชาชนได้ซื้ออาหารและสิ่งของต่าง ๆ สำหรับไปทำบุญที่วัดในวันขึ้น 15 ค่ำ  ซึ่งเมื่อพอรุ่งเช้าของวันขึ้น 15 ค่ำ ก็จะได้ทำการตักบาตรเทโวโรหนะที่วัดพระธาตุดอยกองมูได้

ข้อมูลจำเพาะการท่องเที่ยว

  • สำนักงานเทศบาลเมืองแม่ฮ่องสอน โทรศัพท์ : 053-612-016
  • สำนักงานเทศบาลตำบลแม่สะเรียง โทรศัพท์ :  053-681-231
  • ททท. สำนักงานแม่ฮ่องสอน โทรศัพท์ : 053-612-982-3

บทความ ข่าวสาร มาใหม่

ททท. ต้อนรับนักท่องเที่ยวชาวลาวบนรถไฟทดลองเต็มรูปแบบจากเวียงจันทน์สู่กรุงเทพฯ

กรุงเทพฯ 14 กรกฎาคม 2567 – การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) ร่วมกับ การรถไฟแห่งประเทศไทย...

พรีวิว: โคปา อเมริกา 2024 จัดที่สหรัฐอเมริกา

โคปา อเมริกา 2024 เป็นการแข่งขันฟุตบอลระดับทวีปอเมริกาใต้ครั้งที่ 48 แต่จะจัดขึ้นที่สหรัฐ...

ตลาดนัดแม่สาย: การค้าชายแดนไทย-พม่า

ตลาดนัดแม่สายตั้งอยู่ในอำเภอแม่สาย จังหวัดเชียงราย ซึ่งเป็นจุดเชื่อมต่อสำคัญระหว่างประเทศไ...

วิธีการเลือกอาหารที่มีประโยชน์ต่อสุขภาพ

ความสำคัญของการเลือกอาหารที่มีประโยชน์ การเลือกอาหารที่มีประโยชน์ต่อสุขภาพมีความสำคัญอย่า...

ประโยชน์ของการออกกำลังกายเป็นประจำ

การออกกำลังกายเป็นประจำมีบทบาทสำคัญในการเพิ่มสมรรถภาพทางกายอย่างมีประสิทธิภาพ การออกกำลังก...