27.5 C
Bangkok
วันพุธ, ธันวาคม 18, 2024

ไทลื้อ

ไทลื้อ หรือ คนลื้อ เป็นชาวไทยกลุ่มหนึ่ง มีถิ่นฐานเดิมอยู่ในแถบสิบสองปันนาของจีน มีเอกลักษณ์ที่โดดเด่นคือการใช้ภาษาลื้อ และยังมีวัฒนธรรมอันเป็นเอกลักษณ์อื่น ๆ เช่น การแต่งกาย ศิลปะและประเพณีต่าง ๆ

การอพยพของชาวไทลื้อ

เดิม ชาวลื้อ หรือ ไทลื้อ มีถิ่นที่อยู่บริเวณ เมืองลื้อหลวง จีนเรียกว่า “ลือแจง” ต่อมาได้เคลื่อนย้ายลงมาอยู่บริเวณเมืองหนองแส หรือที่เรียกว่าคุนหมิงในปัจจุบัน แล้วย้ายลงมาสู่ลุ่มน้ำน้ำโขง สิบสองปันนาปัจจุบัน ประมาณศตวรษที่ 12 จึงเกิดมีวีรบุรุษชาวไทลื้อชื่อ เจ้าเจื๋องหาญ ได้รวบรวมหัวเมืองต่าง ๆ ในสิบสองปันนาปัจจุบันตั้งเป็นอาณาจักรแจ่ลื้อ (เซอลี่) โดยได้ตั้งศูนย์อำนาจการปกครองเอาไว้ที่หอคำเชียงรุ่ง นาน 790 ปี ต่อมาถึงสมัยเจ้าอิ่นเมือง ครองราชต่อมาในปี ค.ศ. 1579-1583 (พ.ศ. 2122-2126) ได้แบ่งเขตการปกครองเป็นสิบสองหัวเมือง แต่ละหัวเมืองให้มีที่ทำนา 1,000 หาบข้าว (เชื้อพันธุ์ข้าว) ต่อมาหนึ่งที่/หนึ่งหัวเมือง จึงเป็นที่มาจนถึงปัจจุบันเมืองสิบสองปันนาได้แบ่งเขตการปกครองเอาไว้ในอดีตดังนี้ (ที่มาของคำว่า สิบสองปันนา หรือ สิบสองเจ้าไต)

ชาวไทลื้อ

ชาวไทลื้อ อาศัยอยู่สองฝั่งแม่น้ำโขง คือ ด้านตะวันออกและตะวันตกของแม่น้ำ มีเมืองต่าง ๆ ดังนี้ภาษาไทลื้อ ได้กล่าวไว้ว่า ห้าเมิงตะวันตก หกเมิงตะวันออก รวมเจียงฮุ่ง (เชียงรุ้ง) เป็น 12 ปันนา และทั้ง 12 ปันนานั้น ยังมีเมืองน้อยอีก 32 หัวเมือง เช่น

  • ฝั่งตะวันตก : เชียงรุ้ง, เมืองฮำ, เมืองแช่, เมืองลู, เมืองออง, เมืองลวง, เมืองหุน, เมืองพาน, เมืองเชียงเจิง, เมืองฮาย, เมืองเชียงลอ และเมืองมาง
  • ฝั่งตะวันออก : เมืองล้า, เมืองบาง, เมืองฮิง, เมืองปาง, เมืองลา, เมืองวัง, เมืองพง, เมืองหย่วน, เมืองบาง และเมืองเชียงทอง (หลวงพระบาง)

การขยายตัวของชาวไทยลื้อสมัยรัชกาลที่ 24 เจ้าอินเมืองได้เข้าตีเมืองแถน เชียงตุง เชียงแสน และล้านช้าง กอบกู้บ้านเมืองให้เป็นปึกแผ่น พร้อมทั้งตั้งหัวเมืองไทลื้อเป็นสิบสองเขต เรียกว่า สิบสองปันนา และในยุคนี้ได้มีการอพยพชาวไทลื้อบางส่วนเพื่อไปตั้งบ้านเรือนปกครองหัวเมืองประเทศราชเหล่านั้น จึงทำให้เกิดการกระจายตัวของชาวไทลื้อ ในลุ่มน้ำโขงตอนกลาง (รัฐฉานปัจจุบัน) อันประกอบด้วยเมืองยู้ เมืองยอง เมืองหลวย เมืองเชียงแขง เมืองเชียงลาบ เมืองเลน เมืองพะยาก เมืองไฮ เมืองโก และเมืองเชียงทอง (ล้านช้าง) เมืองแถน (เดียนเบียนฟู)

ชาวไทลื้อ บางส่วนได้อพยพ หรือ ถูกกวาดต้อน ออกจากเมืองเหล่านี้เมื่อประมาณหนึ่งร้อยถึงสองร้อยปีที่ผ่านมา แล้วลงมาตั้งถิ่นฐานใหม่ในประเทศตอนล่าง เช่น พม่า, ลาว และไทย

ในสมัยรัชกาลที่ 1 เจ้าฟ้าอัตถวรปัญโญ (เจ้าผู้ครองนครน่าน) และเจ้าสุมนเทวราช (เจ้าผู้ครองนครน่าน) ยกกองทัพขึ้นไปกวาดต้อนชาวไทลื้อจากสิบสองปันนามายังเมืองน่าน และเมืองบางส่วนในประเทศลาว และต่อมาในสมัยรัชกาลที่ 5 เจ้าสุริยะพงษ์ (เจ้าผู้ครองนครน่าน) ก็ได้ยกกองทัพขึ้นไปกวาดต้อนชาวไทลื้อจากสิบสองปันนามายังเมืองน่าน

ในราวพุทธศตวรรษที่ 19 เจ้าสุนันทะ โอรสเจ้าเมืองเชียงรุ้ง ได้พาบริวารชาวไทลื้อจากเมืองเชียงรุ้ง เข้ามาปกครองเมืองยองเหนือคนพื้นเมือง ซึ่งเป็นชาวลัวะ โดยมีทั้งปัจจัยสนับสนุน ได้แก่

  • การผสมผสานระบบความเชื่อและพิธีกรรม และ พระพุทธศาสนาที่เข้ามาในภายหลัง
  • ความสัมพันธ์ทางเครือญาติ และระบบบรรณาการกับเมืองเชียงรุ้ง เชียงตุงและการสร้างพันธมิตรทางการเมืองกับกลุ่มเมืองในที่ราบเชียงราย บนฝั่งแม่น้ำโขงตอนกลาง เช่น เชียงแสน เชียงของ เป็นต้น

ดังนั้น ชาวไทยอง กับ ชาวไทลื้อก็คือ ญาติกันนั่นเอง

การกระจายตัวของชาวไทยลื้อในปัจจุบัน

  • ประเทศพม่า มีแถบเมืองยอง เมืองยู้ เมืองหลวย เมืองเชียงลาบ เมืองไร เมืองพะยาก เมืองโก เมืองโต๋น เมืองเลน เชียงตุง
  • ประเทศลาว เมืองหลวงน้ำทา เมืองหลวงพูคา เมืองบ่อแก้ว ไชยะบุลี (เชียงฮ่อนเชียง เชียงลม หงสา) เมืองหลวงพะบาง
  • ประเทศไทย เชียงราย เชียงใหม่ ลำพูน แม่ฮ่องสอน พะเยา ลำปาง แพร่ น่าน
  • ประเทศเวียดนาม เมืองแถน

ชาวไทลื้อในประเทศไทย

เชียงราย

อำเภอแม่สาย อำเภอเชียงของ อำเภอเชียงแสน อำเภอพานซึ่งเป็นชาวไทลื้อที่อพยพมาจากจังหวัดลำปาง (ส่วนหนึ่งได้อพยพไปเมืองเชียงรุ้ง เมื่อเกิดสงครามไทยพม่า)

เชียงใหม่

อำเภอสะเมิง อำเภอดอยสะเก็ด อำเภอสันกำแพง กิ่งอำเภอแม่ออน

น่าน

  • อำเภอเมืองน่าน (ต.ในเวียง บ้านเชียงแขง บ้านเมืองเล็น)
  • อำเภอท่าวังผา มีชาวไทลื้ออยู่ 5 ตำบล คือ ต.ศรีภูมิ บ้านห้วยเดื่อ ต.ป่าคา เป็นชาวไทลื้อที่มาจากเมืองล้า มี 5 ประกอบด้วยหมู่บ้าน บ้านหนองบัว บ้านดอนแก้ว บ้านต้นฮ่าง บ้านดอนมูล บ้านแฮะ ,ตำบลยม มีชาวไทลื้อ 5 หมู่บ้านเป็นชาวไทลื้อที่มาจากเมืองเชียงลาบ และเมืองยอง ประกอบด้วย บ้านลอมกลาง บ้านทุ่งฆ้อง บ้านเชียงยืน บ้านเสี้ยว บ้านหนองช้างแดง ,ต.จอมพระ เป็นชาวไทลื้อที่อพยพมาจากเมืองยองและเมืองยู้มีชาวไทลื้อ 5 หมู่บ้าน บ้านถ่อน และถ่อนสอง บ้านยู้ บ้านยู้เหนือ บ้านยู้ใต้
  • อำเภอปัว เป็นอำเภอที่มีชาวไทลื้ออยู่มากที่สุด ประกอบด้วย ต.ศิลาเพชรเป็นชาวไทลื้อที่อพยพมาจากเมืองยอง มี 7 หมู่บ้าน บ้านป่าตอง3หมู่บ้าน บ้านดอนไชย บ้านนาคำ บ้านดอนแก้ว ,ตำบลศิลาแลง เป็นชาวไทลื้อที่อพยพมาจากเมืองยอง บ้านเก็ด บ้านหัวน้ำ บ้านตีนตก เป็นต้น ต.วรนคร บ้านดอนแก้ว บ้านร้องแง บ้านมอน บ้านขอน บ้านป่าลานเป็นต้น ตำบลสถาน เป็นชาวไทลื้ออพยพมาจากเมืองเชียงลาบ มี 3 หมู่บ้าน นอกนั้นในยังมีอีกไม่ต่ำกว่า 20 หมู่บ้านในอำเภอปัวที่เป็นชาวไทลื้อ
  • อำเภอเชียงกลาง
  • อำเภอสองแคว มีชาวไทยลื้ออาศัยอยู่ที่ตำบลยอด ที่บ้านปางส้าน บ้านผาสิงห์และบ้านผาหลัก
  • อำเภอทุ่งช้าง บ้านงอบ บ้านปอน ห้วยโก๋น และส่วนที่อพยพเข้ามาใหม่ ซึ่งจะอยู่ปะปนกะชาวเมืองน่านแถบชายแดน (มีจำนวนมากที่สุด อพยพมาจาก แขวงไชยะบุรี และ สิบสองปันนา)

พะเยา

อำเภอเชียงม่วน อำเภอเชียงคำ (มีจำนวนมาก) อำเภอภูซาง

ลำปาง

อำเภอเมือง ประกอบด้วย 5 หมู่บ้าน บ้านกล้วยหลวง บ้านกล้วยแพะ บ้านกล้วยม่วง บ้านกล้วยกลาง และบ้านกล้วยฝาย และบางส่วนใน อำเภอแม่ทะ

ลำพูน

อำเภอเมือง อำเภอบ้านธิ

ส่วนในต่างประเทศนั้น มีการกระจายตัวกันเกือบทุกประเทศในอนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขง เช่นในรัฐฉาน ประเทศพม่า ประเทศลาว ประเทศเวียดนาม(เมืองแถน และ เมืองเดียนเบียนฟู ก็มีการบันทึกไว้ว่ามีชาวไทลื้อ อยู่ที่นั่นด้วย)

วัฒนธรรมของชาวไทลื้อ

ชาวไทลื้อมีชีวิตที่คล้ายคลึงกับชาวไทยหรือชนเผ่าอื่น ๆ ทางภูมิภาค คือมีการสร้างบ้านเรือนเป็นบ้านไม้ มีใต้ถุนสูง มีครัวไฟบนบ้าน ใต้ถุนเลี้ยงสัตว์ แต่ในปัจจุบันวิถีชีวิตได้เปลี่ยนไป การสร้างบ้านเรือนก็เปลี่ยนแปลงไปด้วย บ้านที่ยังคงสภาพเป็นเรือนไม้แบบเดิมยังพอจะมีให้เห็นบ้างในบางชุมชน เช่น บ้านหย่วน อำเภอเชียงคำ จังหวัดพะเยา

ชาวไทลื้อส่วนใหญ่เป็นพุทธศาสนิกชนที่เคร่งครัด นิยมสร้างวัดในชุมชนต่างๆ แทบทุกชุมชนของชาวไทลื้อ ทั้งยังตกแต่งด้วยศิลปะและสถาปัตยกรรมที่เป็นเอกลักษณ์งดงาม มีการบูรณะ ซ่อมแซม ให้คงสภาพดีอยู่เสมอแม้ในปัจจุบัน

ศิลปะที่โดดเด่นของชาวไทลื้อได้แก่งานผ้าทอไทลื้อ นิยมใช้ผ้าฝ้าย ทอลวดลายที่เรียกว่า ลายน้ำไหล ปัจจุบันมีการฟื้นฟูและถ่ายทอดศิลปะการทอผ้าแบบไทลื้อในหลายชุมชนของภาคเหนือ

ผู้ชายไทลื้อส่วนใหญ่จะนิยมสวมเสื้อขาวแขนยาว สวมทับด้วยเสื้อกั๊กปักลวดลายด้วยเลื่อม สวมกางเกงม่อฮ่อมขายาวโพกหัวด้วยผ้าสีขาวหรือชมพู ส่วนหญิงไทลื้อนิยมสวมเสื้อปั๊ด (เป็นเสื้อที่ไม่มีกระดุมแต่จะสะพายเฉียงมาผูกไว้ที่เอวด้านข้าง) นุ่งซิ่นลื้อ สะพายกระเป๋าย่ามและนิยมโพกศีรษะด้วยผ้าขาวหรือชมพู

เรื่องของชาวไทลื้อ ซึ่งบรรพบุรุษได้อพยพมาจากเมืองยอง เมืองยู้ เมืองเชียงลาบ (เมืองทั้งหมดนี้อยู่ในรัฐฉาน ประเทศพม่า) และชาวไทยอง (คนเมือง คนที่มีถิ่นฐานดั่งเดิมอยู่ในเขตจังหวัดล้านนา) นั้น มีความเกี่ยวข้องกันมาก ดังนั้นจึงอาจจะไม่สามารถแบ่งแยกกันได้

สมเด็จพระเจ้าหอคำเชียงรุ่ง 1 (พญาเจื๋อง) เป็นปฐมกษัตริย์ของชาวไทลื้อ แห่งราชวงค์อาฬโวสวนตาล จนถึงสมเด็จพระเจ้าหอคำเชียงรุ่งที่ 41 เจ้าหม่อมคำลือ (ตาวซินซือ) ก่อสิ้นสุดลงเพราะรัฐบาลจีนได้ถอดท่านถอนท่านออกจากการเป็นเจ้าฯ ส่วนพระอนุชาได้ลี้ภัย มาอยู่ที่อำเภอแม่สาย หม่อมตาลคำ ได้ลี้ภัยมาอยู่กรุงเทพ

 

บทความ ข่าวสาร มาใหม่

ททท. ต้อนรับนักท่องเที่ยวชาวลาวบนรถไฟทดลองเต็มรูปแบบจากเวียงจันทน์สู่กรุงเทพฯ

กรุงเทพฯ 14 กรกฎาคม 2567 – การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) ร่วมกับ การรถไฟแห่งประเทศไทย...

พรีวิว: โคปา อเมริกา 2024 จัดที่สหรัฐอเมริกา

โคปา อเมริกา 2024 เป็นการแข่งขันฟุตบอลระดับทวีปอเมริกาใต้ครั้งที่ 48 แต่จะจัดขึ้นที่สหรัฐ...

ตลาดนัดแม่สาย: การค้าชายแดนไทย-พม่า

ตลาดนัดแม่สายตั้งอยู่ในอำเภอแม่สาย จังหวัดเชียงราย ซึ่งเป็นจุดเชื่อมต่อสำคัญระหว่างประเทศไ...

วิธีการเลือกอาหารที่มีประโยชน์ต่อสุขภาพ

ความสำคัญของการเลือกอาหารที่มีประโยชน์ การเลือกอาหารที่มีประโยชน์ต่อสุขภาพมีความสำคัญอย่า...

ประโยชน์ของการออกกำลังกายเป็นประจำ

การออกกำลังกายเป็นประจำมีบทบาทสำคัญในการเพิ่มสมรรถภาพทางกายอย่างมีประสิทธิภาพ การออกกำลังก...