24.8 C
Bangkok
วันอาทิตย์, มกราคม 19, 2025
หน้าแรกTravelเที่ยวโครงการหลวงศูนย์พัฒนาโครงการหลวงแม่แฮ

ศูนย์พัฒนาโครงการหลวงแม่แฮ

หมู่บ้านแม่แฮและหมู่บ้านบริเวณใกล้เคียง ในเขตตำบลแม่วิน อำเภอแม่วาง และตำบลแม่นาจร อำเภอแม่แจ่ม จังหวัดเชียงใหม่ ราษฎรที่อาศัยอยู่ส่วนใหญ่เป็นชาวเขาเผ่ากะเหรี่ยง ม้ง และจีนยูนนาน  ประกอบอาชีพทำนาและทำไร่เลื่อนลอย ปลูกฝิ่น ข้าวไร่ ข้าวโพดและเลี้ยงสัตว์ตามธรรมชาติ มักจะอพยพเคลื่อนย้ายหาที่เพาะปลูกใหม่เพื่อต้องการความอุดมสมบูรณ์ของดิน โดยการบุกรุกเผาถางป่าไม้ทุกปี  อีกทั้งมีสภาพความเป็นอยู่ค่อนข้างยากจน ผลิตอาหารไม่เพียงพอแก่การบริโภค ไม่มีเส้นทางการคมนาคมติดต่อกับพื้นที่ราบหรือเชื่อมระหว่างหมู่บ้าน

ปี พ.ศ.2521 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงมีพระราชดำริให้พัฒนาอาชีพของประชากรชาวเขาหมู่บ้านแม่แฮและหมู่บ้านใกล้ เคียง หม่อมเจ้าภีศเดช รัชนี  ประธานมูลนิธิโครงการหลวง ขอให้สำนักเกษตรภาคเหนือ เป็นผู้ดำเนินงาน “โครงการหลวงพัฒนาเกษตรที่สูงแม่แฮ” ซึ่งต่อมาเปลี่ยนชื่อเป็น “ศูนย์พัฒนาโครงการหลวงแม่แฮ”

ศูนย์พัฒนาโครงการหลวงแม่แฮ ศูนย์พัฒนาโครงการหลวงแม่แฮ

ศูนย์พัฒนาโครงการหลวงแม่แฮ ตั้งอยู่บนพื้นที่สูงจากระดับน้ำทะเล 1,300 เมตร มีพื้นที่รับผิดชอบทั้งหมด 33 ตารางกิโลเมตร ตั้งอยู่ในพื้นที่ 3 อำเภอ ได้แก่ อำเภอแม่วาง อำเภอแม่แจ่ม และอำเภอสะเมิง ครอบคลุม 24 หมู่บ้าน  1,750 ครัวเรือน พื้นที่ส่วนใหญ่เป็นเนินเขาและภูเขาสลับซับซ้อน มีที่ราบแคบตามแนวเหนือ-ใต้ของห้วยแม่แฮและห้วยแม่เตียน อุณหภูมิเฉลี่ย 24  องศาเซลเซียส

กิจกรรมการท่องเที่ยว

จุดท่องเที่ยวในศูนย์

  • แปลงสาธิตการผลิตพืชผักเมืองหนาว ได้แก่ ผักกาดหอมห่อ ผักกาดหวาน กะหล่ำปลีแดง และสาธิตการเพาะกล้าผักเมืองหนาวชนิดต่างๆ
  • แปลงสาธิตการผลิตไม้ผล ได้แก่ พลับ องุ่น กีวี่ เคพกู๊สเบอรี่ สาลี่

จุดท่องเที่ยวชุมชน

  • แปลงผลิตพืชผัก ไม้ดอก ไม้ผลตามฤดูกาล พืชผักได้แก่ ผักกาดหอมห่อ ผักกาดขาวปลี กะหล่ำปลี หอมญี่ปุ่น บีทรูท ไม้ผล ได้แก่ พลับองุ่น กีวี่ พลัม สาลี่ สตรอเบอรี่
  • ดอยม่อนยะ สามารถชมวิวของศูนย์และยอดดอย จุดที่สูงที่สุดในพื้นที่คือ ดอยม่อนยะ ตั้งอยู่ในเขตบ้านห้วยน้ำจางและม่อนยะใต้ ตลอดเส้นทางสู่ยอดดอยจะได้สัมผัสกับทิวทัศน์ที่สวยงาม ชมดอกซากุระบาน(นางพญาเสือโคร่ง) ช่วงฤดูหนาวในพื้นที่ศูนย์ฯ รวมทั้งริมถนนมีดอกบัวตองบานในช่วงตุลาคม-พฤศจิกายน ตลอดเส้นทางสายแม่เตียน-แม่แฮ-ป่าเกี๊ยะน้อย รวมทั้งแม่แฮ-ห้วยขมิ้นนอกการเดินทางสะดวกสบายสามารถเดินทางโดยรถยนต์หรือรถ จักรยานยนต์
  • สวนสตรอเบอรี่ ที่ใหญ่ที่สุดในประเทศไทย ที่บ้านบ่อแก้ว เก็บผลผลิตช่วง พฤศจิกายน-มีนาคม
    หน่วยจัดการต้นน้ำแม่สะงะ อยู่ห่างจากศูนย์ประมาณ 7 กิโลเมตร เหมาะแก่การท่องเที่ยวแบบเดินป่า บริเวณพื้นที่มีลานกางเต็นท์ค้างแรมเพื่อซึมซับกับธรรมชาติจากผืนป่าและ ต้นไม้นักท่องเที่ยวส่วนมากเป็นชาวต่างชาติ
  • กังหันลม เป็นสถานที่ท่องเที่ยวที่อยู่บริเวณบ้านแม่แฮเหนือ บริเวณดังกล่าวสามารถเห็นวิวทิวทัศน์ที่สวยงามบริเวณพื้นที่รับผิดชอบของ ศูนย์พัฒนาโครงการหลวงแม่แฮ
  • รอยพระบาท คนชุมชนเชื่อว่าเป็นรอยพระบาทของคนยุคสมัยโบราณซึ่งสามารถเห็นรอยมือและรอยเท้าได้อย่างชัดเจน
    บ่อน้ำแร่ธรรมชาติ อยู่ห่างจากศูนย์ประมาณ 5 กิโลเมตร
  • ปางช้างห้วยขมิ้น อยู่ห่างจากศูนย์ประมาณ 6 กิโลเมตร นักท่องเที่ยวสามารถขี่ช้างเดินชมธรรมชาติ

สถานที่ท่องเที่ยวใกล้เคียง

  • ปางช้างแม่วาง ห่างจากศูนย์ประมาณ 27 กิโลเมตร เป็นแหล่งท่องเที่ยวที่มีกิจกรรมการล่องแพ ขี่ช้าง ตามลำน้ำแม่วาง
  • ศูนย์วิจัยเกษตรหลวงเชียงใหม่ ห่างจากศูนย์ประมาณ 28 กิโลเมตร เป็นแหล่งที่มีการปลุกต้นนางพญาเสือโคร่งที่มีความสวยงามซึ่งจะออกดอกช่วง เดือนประมาณธันวาคม-มกราคม ของทุกปี
  • น้ำตกบ้านห้วยเย็น ห่างจากศูนย์ประมาณ 7 กิโลเมตร

ศูนย์พัฒนาโครงการหลวงแม่แฮ ศูนย์พัฒนาโครงการหลวงแม่แฮ

ที่พัก

  • บ้านรับรองภายในศูนย์ ฯ มีบ้านพักรับรองนักท่องเที่ยวหรือผู้มาศึกษาเรียนรู้ดูงาน จำนวน 2 หลัง รองรับจำนวนประมาณ 34 คน
  • โฮมสเตย์บ้านแม่แฮเหนือ ปัจจุบันมี 6 หลัง สามารถรองรับนักท่องเที่ยวได้ประมาณ 40 คน เป็นบ้านพักโฮมสเตย์ที่น่าอยู่ สะอาด เจ้าของบ้านมีอัธยาศัยดีมีความเป็นกันเองบ้านแต่ละหลังมีเอกลักษณ์ที่โดด เด่นมีวิวสวยงาม โดยมีอัตราค่าบริการ ค่าที่พัก คนละ 150 บาท/คืน ค่าอาหาร คนละ 75 บาท/คน/มื้อ ไกด์ท้องถิ่น 300 บาท ต่อนักท่องเที่ยว 10 คน

ร้านอาหาร

ศูนย์ไม่มีร้านอาหารรองรับนักท่องเที่ยว แต่หากนักท่องเที่ยวหรือผู้มาศึกษาดูงานให้ทางศูนย์เตรียมอาหารต้องสั่งจอง ล่วงหน้าอย่างน้อย 1 อาทิตย์ หากไม่สะดวกสามารถหารับประทานได้ที่ตามร้านค้าชุมชนซึ่งมีร้านอาหารอยู่ จำนวน 5 ร้าน และกลุ่มแม่บ้าน จำนวน 2 กลุ่ม

ร้านค้าของที่ระลึก

สามารถเลือกซื้อได้ตามร้านค้าชุมชน โดยมีการจำหน่ายสินค้างานหัตถกรรมต่างๆ เช่น กระเป๋าย่าม ผ้าพันคอ เสื้อปกาเกอญอ  ผ้าปูโต๊ะ  เป็นต้น

การเดินทาง

ระยะทางจากตัวเมืองเชียงใหม่ถึงศูนย์ประมาณ 101 กม. ใช้เวลาในการเดินทางประมาณ 2 ชั่วโมง ใช้ทางหลวงหมายเลข 108 (สายเชียงใหม่-ฮอด) ถึงอำเภอสันป่าตองเลี้ยวขวาบริเวณแยกบ้านกาด  เข้าทางหลวงหมายเลข 1013 (ถนนสันป่าตอง-แม่วาง) อีก 27 กิโลเมตร ผ่านศูนย์พัฒนาโครงการหลวงทุ่งหลวงไปอีก 16 กิโลเมตร จะถึงศูนย์ฯ แม่แฮ

สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติม

ศูนย์พัฒนาโครงการหลวงแม่แฮ บ้านแม่แฮเหนือหมู่ที่ 3 ต.แม่นาจร อ.แม่แจ่ม จ.เชียงใหม่
โทรศัพท์ 085-7161122, 091-8529435 หรือ 084-9483546

ข้อมูลและภาพประกอบ 38 ดอย 38 โครงการหลวง

บทความ ข่าวสาร มาใหม่

ททท. ต้อนรับนักท่องเที่ยวชาวลาวบนรถไฟทดลองเต็มรูปแบบจากเวียงจันทน์สู่กรุงเทพฯ

กรุงเทพฯ 14 กรกฎาคม 2567 – การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) ร่วมกับ การรถไฟแห่งประเทศไทย...

พรีวิว: โคปา อเมริกา 2024 จัดที่สหรัฐอเมริกา

โคปา อเมริกา 2024 เป็นการแข่งขันฟุตบอลระดับทวีปอเมริกาใต้ครั้งที่ 48 แต่จะจัดขึ้นที่สหรัฐ...

ตลาดนัดแม่สาย: การค้าชายแดนไทย-พม่า

ตลาดนัดแม่สายตั้งอยู่ในอำเภอแม่สาย จังหวัดเชียงราย ซึ่งเป็นจุดเชื่อมต่อสำคัญระหว่างประเทศไ...

วิธีการเลือกอาหารที่มีประโยชน์ต่อสุขภาพ

ความสำคัญของการเลือกอาหารที่มีประโยชน์ การเลือกอาหารที่มีประโยชน์ต่อสุขภาพมีความสำคัญอย่า...

ประโยชน์ของการออกกำลังกายเป็นประจำ

การออกกำลังกายเป็นประจำมีบทบาทสำคัญในการเพิ่มสมรรถภาพทางกายอย่างมีประสิทธิภาพ การออกกำลังก...