ได้มีโอกาสมาเยือนประเทศอินโดนีเซียอีกครั้ง คราวนี้ได้มีโอกาสมาเที่ยวชม วัดพรัมบานัน ซึ่งเป็นที่รู้จักสำหรับคนท้องถิ่นเรียกว่า โรโร จองกรัง ซึ่งถือได้ว่าว่าเป็นหนึ่งในวัดฮินดูที่มีความใหญ่ที่สุดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ โดยที่วัดพรัมบานันจะมีแท่นบูชาหลัก 3 ที่ ซึ่งอุทิศให้แก่ เทพเจ้าฮินดู 3 องค์ ได้แก่ พระพรหม พระศิวะและ พระวิษณุ
ผมได้เดินทางมาเยี่ยมชมที่วัดพรัมบานัน ซึ่งไม่ได้เข้าไปดูทุกส่วน แต่จะได้รับอนุญาตให้เข้าชมเป็นบางส่วนเท่านั้น เพราะที่วัดพรัมบานัน ยังคงมีบางส่วนที่ได้รับความเสียหายจากในอดีต แต่สิ่งที่ทำให้ผมประทับใจสุด ๆ ก็คือ การได้นั่งชมพระอาทิตย์ขึ้นบริเวณหลังวัดพรัมบานันแห่งนี้ เวลาประมาณตี 5 ซึ่งเป็นเวลาที่เหมาะที่สุดในการชม ซึ่งนอกเหนือจากการดูพระอาทิตย์ขึ้นแล้ว การได้ชมความงามที่วัดพรัมบานัน ที่ถือเป็นเทวสถานในศาสนาฮินดูที่ใหญ่ที่สุดในประเทศอินโดนีเซียยังถือเป็นความศรัทธาที่น่าชื่นชมอีกด้วย
ประวัติของ วัดพรัมบานัน
วัดพรัมบานันตั้งอยู่ในเขตชวากลาง ห่างจากเมืองยอกยาการ์ตาไปทางตะวันออกประมาณสิบแปดกิโลเมตร ตัววัดพรัมบานัน นั้นสร้างขึ้นเมื่อประมาณปี พ.ศ. 1390 แต่หลังจากสร้างเสร็จได้ไม่นานนัก ตัววัดพรัมบานันก็ถูกทอดทิ้งและถูกปล่อยให้ทรุดโทรมตามกาลเวลา จนกระทั่งเมื่อถึงปี พ.ศ. 2461 จึงได้มีการเริ่มบูรณะวัดขึ้นมา ซึ่งการบูรณะของสิ่งก่อสร้างหลักสิ้นสุดลงเมื่อปี พ.ศ. 2496 แต่ในปัจจุบันวัดพรัมบานันถูกยกย่องให้เป็น มรดกโลก และนับได้ว่าเป็นหนึ่งในศาสนสถานในศาสนา ฮินดูที่ใหญ่ที่สุดในเอเชียอาคเนย์ ด้วยความโดดเด่นของตัววัดที่มีสถาปัตยกรรมและความใหญ่โตของปรางค์ซึ่งมีความสูงถึง 47 เมตร
วัดพรัมบานันศาสนสถานของฮินดูที่ยิ่งใหญ่และงดงามไปด้วยลวดลายแกะสลักหินอัน มีขนาดใหญ่และสมบูรณ์ที่สุดของอินโดนีเซีย วัดพรัมบานัน หรือเทวสถานแห่งนี้ใหญ่โตมาก เพราะมีวิหารถึง 156 หลังอยู่รอบ ๆ กลุ่มวิหารขนาด ใหญ่ 8 หลังซึ่งรวมกันอยู่ ตรงกลาง โดยมีวิหารของพระศิวะเป็นเทวสถานที่สำคัญและเด่นที่สุด มีภาพสลักนูนตามระเบียงซึ่งแสดงตอนต่าง ๆ ของเรื่องรามายณะ ถือได้ว่าเป็นตำราของคัมภีร์ศาสนาฮินดู
ซึ่งปราสาทหินพรัมบานัน ได้รับขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลกในการประชุมคณะกรรมการมรดก โลกสมัยสามัญครั้งที่ 15 ภายใต้ชื่อ กลุ่มวัดพรัมบานัน เมื่อปี พ.ศ. 2534 ที่เมืองคาร์เทจ ประเทศตูนิเซีย เพราะเป็นตัวแทนในการแสดงผลงานชิ้นเอกที่จัดทำขึ้นด้วยการสร้างสรรค์อันชาญฉลาดของมนุษย์ ซึ่งถือเป็นตัวอย่างอันโดดเด่นของประเภทของสิ่งก่อสร้างอันเป็นตัวแทนของการพัฒนา ทางด้านวัฒนธรรม ศิลปกรรมสังคม วิทยาศาสตร์ อุตสาหกรรม เทคโนโลยี ในประวัติศาสตร์ของมนุษยชาติ
ตั๋วเครื่องบินไปประเทศ อินโดนีเซีย
The cheapest round-trip tickets from กรุงเทพ to จาการ์ตา
Departure at | Return at | Stops | Airline | Find tickets |
---|---|---|---|---|
6 มีนาคม 2025 | 9 มีนาคม 2025 | Direct | Tickets from 4 390 |