27.5 C
Bangkok
วันพุธ, ธันวาคม 18, 2024
หน้าแรกTravelข้อมูลชนเผ่ากะเหรี่ยง (KAREN) “ปกาเกอญอ”

กะเหรี่ยง (KAREN) “ปกาเกอญอ”

ประวัติความเป็นมาของชาวกะเหรี่ยง

ชาว กะเหรี่ยง เรียกตนเองว่า “ปกาเกอญอ” ซึ่งแปลว่า “คน” เป็นชนเผ่าที่มีจำนวนมากที่สุดใน ประเทศไทย แบ่งออกได้เป็น 4 กลุ่ม ได้แก่ สะกอ หรือยางขาว หรือ ปากกะญอ เป็นกลุ่มที่มีประชากรมากที่สุด โป หรือ โพล่ อยู่ในเขตจังหวัดแม่ฮ่องสอน เชียงใหม่ และ ลำพูน ปะโอ หรือ ตองสู และบะเว หรือ คะยา ในเขตจังหวัดแม่ฮ่องสอน ถิ่นฐานเดิมของกะเหรี่ยงอยู่บริเวณมองโกเลียเมื่อกว่า 2,000 ปีมาแล้ว ต่อมาได้หนีภัยจากการรุกรานจากกองทัพจีน มาอยู่ที่ธิเบต ถอยร่นลงมาทางใต้เรื่อย ๆ ตั้งแต่บริเวณที่ราบลุ่มแม่น้ำแยงซีเกียง ลุ่มน้ำสาละวิน มาถึง คอคอดกระ จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ จำนวนที่อพยพเข้ามาในประเทศไทยในตอนปลายศตวรรษที่ 18 ในรัชสมัยสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวฯ

ข้อมูลเผ่า กะเหรี่ยง

ภาษา

กะเหรี่ยง แต่ละเผ่ามีภาษาพูด และภาษาเขียนเป็นของตนเอง โดยการดัดแปลงมาจากตัวหนังสือพม่า ผสมอักษรโรมัน

ลักษณะบ้านเรือน

นิยมสร้างเป็นบ้านยกพื้นสูง มีชานบ้าน บางส่วนก็ตั้งบ้านเรือนบนที่ราบเช่นเดียวกับชาวพื้นราบทั่วไป ชาวกะเหรี่ยงตั้งถิ่นฐานเป็นหลักแหล่งถาวร ไม่ย้ายถิ่นบ่อย ๆ

ข้อมูลเผ่า กะเหรี่ยง

การแต่งกาย

กะเหรี่ยง ทอผ้าจนเป็นวัฒนธรรมประจำเผ่า เสื้อเด็กและหญิงสาวจะเป็นชุดทรงกระสอบ ผ้าฝ้ายพื้นขาว ทอหรือปักประดับลวดลายให้งดงาม ส่วนหญิงที่มีครอบครัวแล้วจะสวมเสื้อสีดำ น้ำเงิน และผ้านุ่งสีแดงคนละท่อน ตกแต่งด้วยลูกเดือย หรือทอยกดอก ยกลาย สำหรับผู้ชายกะเหรี่ยงนั้นส่วนมากจะสวมเสื้อตัวยาวถึงสะโพก ตัวเสื้อจะมีการตกแต่งด้วยแถบสีไม่มีการปักประดับเหมือนเสื้อผู้หญิง นุ่งกางเกงสะดอ  นิยมใช้สร้อยลูกปัดเป็นเครื่องประดับ และสวมกำไลเงินหรือตุ้มหู

ข้อมูลเผ่า กะเหรี่ยง ข้อมูลเผ่า กะเหรี่ยง

เครื่องดนตรี  

“เตหน่า” เป็นเครื่องดนตรีของ ชนเผ่ากะเหรี่ยง ทำด้วยไม้อ่อนเหลา และกลึงให้เป็นรูปเหมือนกล่องรูปทรงรี มีก้านยาวโก่งและโค้งสูงขึ้นไป ที่ตัวจะเจาะรูเป็นโพรงปิดด้วยโลหะบาง ๆ สายทำด้วยเส้นลวดมีสายตั้งแต่ 6 – 9 สาย เตหน่า ใช้สำหรับดีดและร้องเพลงประกอบ ใช้ในโอกาสมีเวลาว่างและเพื่อความสนุกสนาน โดยเฉพาะหนุ่มชาวปกาเกอญอจะใช้เตหน่าในการเกี้ยวพาราสีหญิงสาวในยามค่ำคืน

วัฒนธรรมประเพณี  

ชาวกะเหรี่ยง มีประเพณีที่เกี่ยวข้องกับการ ทำพิธีกรรมเลี้ยงผี บวงสรวงดวงวิญญาณ ด้วยการต้มเหล้า ฆ่าไก่ – แกง  และมัดมือผู้ร่วมพิธีด้วยฝ้ายดิบ ซึ่งเกี่ยวโยงกัน

  • ประเพณีปีใหม่ โดยหัวหน้าหมู่บ้านจะเป็นผู้ระบุวันล่วงหน้า แต่ละหมู่บ้านจะมีปีใหม่ แต่ละปีไม่ตรงกัน เพราะเป็นพิธีที่หมายถึงการเริ่มต้นของฤดูกาลการเกษตร และอยู่เย็นเป็นสุข
  • ประเพณีแต่งงาน ผู้หญิงจะเป็นผู้เลือกคู่ครองเอง เจ้าสาวจะต้องทอเสื้อผ้า กางเกง ย่ามไว้ให้เจ้าบ่าว ทั้งเจ้าบ่าวเจ้าสาวต้องฆ่าหมูฆ่าไก่เพื่อทำพิธีกรรมบอกต่อผีบรรพบุรุษและเป็นอาหารเลี้ยงแขก แต่งงานแล้วฝ่ายชายต้องมาอยู่บ้านฝ่ายหญิง 1 ฤดูเก็บเกี่ยว ก่อนแยกไปปลูกบ้านใกล้กัน

ศาสนา

ความเชื่อและพิธีกรรมเดิม ชาวกะเหรี่ยง นับถือผีมีการบวงสรวงและเซ่นสังเวยอย่างเคร่งครัด ภายหลังหันมานับถือศาสนาพุทธ และศาสนาคริสต์มากขึ้น แต่ก็ยังคงความเชื่อเดิมอยู่ไม่น้อย เช่น ความเชื่อเรื่องขวัญหรือการทำกิจกรรมต่าง ๆ จะต้องมีการเซ่น เจ้าที่เจ้าทาง และบอกกล่าวบรรพชน ให้อุดหนุนค้ำจูน ช่วยให้กิจการงานนั้น ๆ เจริญก้าวหน้า ทำเกษตรกรรมได้ผลผลิตดี ให้อยู่เย็นเป็นสุข ปกป้องคุ้มครองดูแล และยังเป็นการขอขมาต่อท่าน

ข้อมูลเผ่า กะเหรี่ยง

ชนเผ่ากะเหรี่ยง ที่อาศัยในพื้นที่ปฏิบัติงานโครงการหลวง ได้แก่ วัดจันทร์ พระบาทห้วยต้ม แม่ทาเหนือ ขุนแปะ อินทนนท์ ขุนวาง ทุ่งหลวง แม่แฮ แม่สะป๊อก

บทความก่อนหน้านี้
บทความถัดไป

บทความ ข่าวสาร มาใหม่

ททท. ต้อนรับนักท่องเที่ยวชาวลาวบนรถไฟทดลองเต็มรูปแบบจากเวียงจันทน์สู่กรุงเทพฯ

กรุงเทพฯ 14 กรกฎาคม 2567 – การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) ร่วมกับ การรถไฟแห่งประเทศไทย...

พรีวิว: โคปา อเมริกา 2024 จัดที่สหรัฐอเมริกา

โคปา อเมริกา 2024 เป็นการแข่งขันฟุตบอลระดับทวีปอเมริกาใต้ครั้งที่ 48 แต่จะจัดขึ้นที่สหรัฐ...

ตลาดนัดแม่สาย: การค้าชายแดนไทย-พม่า

ตลาดนัดแม่สายตั้งอยู่ในอำเภอแม่สาย จังหวัดเชียงราย ซึ่งเป็นจุดเชื่อมต่อสำคัญระหว่างประเทศไ...

วิธีการเลือกอาหารที่มีประโยชน์ต่อสุขภาพ

ความสำคัญของการเลือกอาหารที่มีประโยชน์ การเลือกอาหารที่มีประโยชน์ต่อสุขภาพมีความสำคัญอย่า...

ประโยชน์ของการออกกำลังกายเป็นประจำ

การออกกำลังกายเป็นประจำมีบทบาทสำคัญในการเพิ่มสมรรถภาพทางกายอย่างมีประสิทธิภาพ การออกกำลังก...