24.9 C
Bangkok
วันเสาร์, ธันวาคม 21, 2024

แพร่

จังหวัดแพร่ เป็นเมืองโบราณสร้างมาช้านานแล้วตั้งแต่อดีตกาล แต่ยังไม่ปรากฎหลักฐานแน่ชัดว่าสร้างขึ้นในสมัยใดและใครเป็นผู้สร้าง เมืองแพร่เป็นเมืองที่ไม่มีประวัติของตนเองจารึกไว้ในที่ใด ๆ โดยเฉพาะ นอกจากปรากฎในตำนานพงศาวดารและจารึกของเมืองอื่น ๆ บ้างเพียงเล็กน้อย

“หม้อห้อม ไม้สัก ถิ่นรักพระลอ ซ่อแฮศรีเมือง ลือเลื่องแพะเมืองผี คนแพร่นี้ใจงาม”

แพร่ ประตูแห่งล้านนาตะวันออก ถือเป็นจังหวัดที่ ความมหัศจรรย์ทางธรณีวิทยาลงตัวหลายแห่ง คนที่ชอบงานธรรมชาติแนวนี้ ไปที่ จังหวัดแพร่ แห่งเดียวได้สัมผัสความสวยงามน่าทึ่งของธรรมชาติแบบจัดเต็ม นอกเหนือกว่านั้น เมืองแพร่ยังมีสถานที่น่าท่องเที่ยวเพราะยังคงธำรงไว้ทั้งป่า เขา ผืนน้ำ อีกทั้งตำนานเล่าขานสืบกันมาถึงความเก่าแก่ของเมือง อารยธรรม วัฒนธรรม ประเพณี สถาปัตย์ที่ทำให้แพร่ดูเป็นเมืองลึกลับแต่น่าค้นหาไปในตัว เป็นเมืองที่นักท่องเที่ยวจะไม่แค่ผ่านไปเฉย ๆ ลองแวะเที่ยวสักครั้งจะต้องจัดโปรแกรมแวะบ้าง แม้ตั้งใจเดินทางไปต่อจังหวัดอื่น และเพื่อให้เราทำความรู้จักกับ จังหวัดแพร่ มากขึ้น มาดูกันดีกว่าว่า แพร่นั้นมีอะไรน่าติดตาม ไม่ใช่อย่างที่บางคนคิด

แพะเมืองผี จังหวัดแพร่

การเดินทางไป จังหวัดแพร่

จังหวัดแพร่ อยู่ห่างจากกรุงเทพฯ ประมาณ 555 กิโลเมตร นักท่องเที่ยวสามารถเดินทางสู่จังหวัดแพร่ได้หลายวิธี ทั้งทางรถยนต์ส่วนตัว รถประจำทาง รถไฟ และเครื่องบิน

โดยรถไฟ

จังหวัดแพร่ มีทางรถไฟตัดผ่านที่อำเภอเด่นชัย อยู่ห่างจากตัวจังหวัดประมาณ 24 กิโลเมตร การรถไฟแห่งประเทศไทยให้บริการเดินรถระหว่างอำเภอเด่นชัยและจังหวัดต่างๆ ทั้งเที่ยวขึ้นและเที่ยวล่องทุกวัน

โดยรถยนต์

จากกรุงเทพฯ ไปจังหวัดแพร่ สามารถใช้เส้นทางรถยนต์ได้ 3 เส้นทาง ดังนี้

  • เส้นทางที่ 1 กรุงเทพฯ-นครสวรรค์-พิษณุโลก-เด่นชัย-แพร่ (ทางหลวงหมายเลข 11) สายใหม่ จากรังสิตมาตามถนนพหลโยธิน (ทางหลวงหมายเลข 1) แล้วแยกซ้ายเข้าทางหลวงหมายเลข 32 ที่อำเภอวังน้อย จากนั้นผ่านจังหวัดพระนครศรีอยุธยา สิงห์บุรี เข้าทางหลวงหมายเลข 1 อีกครั้งที่จังหวัดชัยนาท ตรงไปจังหวัดนครสวรรค์ แล้วเลี้ยวขวาไปตามทางหลวงหมายเลข 117 (นครสวรรค์-พิษณุโลก) ผ่านจังหวัดพิจิตร พิษณุโลก จากนั้นก็เลี้ยวซ้ายเข้าทางหลวงหมายเลข 125 (เลี่ยงเมืองพิษณุโลก-วังทอง) แล้วเลี้ยวเข้าทางหลวงหมายเลข 11 (พิษณุโลก-เด่นชัย) ตรงไป จ.อุตรดิตถ์ และเข้าสู่ตัวจังหวัดแพร่ ใช้เวลาเดินทางประมาณ 7-8 ชั่วโมง เป็นเส้นทางที่ได้รับความนิยมและสะดวกสบายในการเดินทางมากที่สุด
  • เส้นทางที่ 2 กรุงเทพฯ-กำแพงเพชร-สุโขทัย-ศรีสัชนาลัย-แพร่ (ทางหลวงหมายเลข 101) สายเก่า ใช้เส้นทางเดียวกับเส้นทางที่ 1 เมื่อไปถึงจังหวัดนครสวรรค์ ให้ตรงไป ที่จังหวัดกำแพงเพชร แล้วเลี้ยวขวาไปตามทางหลวงหมายเลข 101 (สายเก่า กำแพงเพชร – น่าน) โดยผ่าน อ.พรานกระต่าย อ.คีรีมาศ ตรงไปจังหวัดสุโขทัย ผ่าน อ.สวรรคโลก อ.ศรีสัชนาลัย แล้วตรงไปตามทางหลวงหมายเลข 101 อีกเช่นเคย เข้าเขตจังหวัดแพร่ ผ่าน อ.วังชิ้น แล้วเลี้ยวขวาตามทางหลวงหมายเลข 101 อีกครั้ง ที่ อ.เด่นชัย ผ่านตรงไป อ.สูงเม่น และเข้าสู่จังหวัดแพร่ เช่นกัน ใช้เวลาเดินทางประมาณ 9 ชั่งโมงเศษ เส้นทางนี้ เคยเป็นเส้นทางสายเก่าของภาคเหนือเมื่อประมาณ 50 ปีที่แล้วก่อนที่จะมีทางหลวงหมายเลข 11 (เด่นชัย – พิษณุโลก) สำหรับผู้ที่จะไป จังหวัดแพร่ โดยใช้เส้นทางที่ 2 นี้ จะเหมาะเดินทางในเวลากลางวันมากกว่ากลางคืน เพราะเส้นทางที่ 2 ทางหลวงหมายเลข 101 (ช่วงเด่นชัย-ศรีสัชนาลัย) จะโค้งดเคี้ยว และเส้นทางค่อนข้างแคบ ทับไปตามแนวป่าเขาสูง จึงต้องมีความระมัดระวังเป็นพิเศษ
  • เส้นทางที่ 3 กรุงเทพฯ-ตากฟ้า-วังทอง-อุตรดิตถ์-เด่นชัย-แพร่ (ทางหลวงหมายเลข 11) สายใหม่ ใช้เส้นทางเดียวกับเส้นทางที่ 1 เมื่อถึงอำเภออินทร์บุรี จังหวัดสิงห์บุรีแล้ว ให้เลี้ยวขวา ไปตามทางหลวงหมายเลข 11 (ตากฟ้า-วังทอง) ผ่าน จ.นครสวรรค์ จ.พิจิตร และ เข้าสู่ อ.วังทอง จ.พิษณุโลก แล้วเลี้ยวซ้ายไปตามทางหลวงหมายเลข 12 (พิษณุโลก-สุโขทัย) จากนั้นก็เลี้ยวขวา เข้าทางหลวงหมายเลข 11 (พิษณุโลก-เด่นชัย) อีกครั้ง ผ่าน จ.อุตรดิตถ์ แล้วตรงไป อ.เด่นชัย เลี้ยวขวาเข้าทางหลวงหมายเลข 101 ไปสู่จัหวัดแพร่ ใช้เวลาเดินทางประมาณ 8 ชั่วโมงเศษ

โดยรถประจำทาง

บริษัท ขนส่ง จำกัด และบริษัทเอกชนมีรถโดยสารธรรมดาและรถโดยสารปรับอากาศ สายกรุงเทพฯ-แพร่ และกรุงเทพฯ-แพร่-สอง ออกจากสถานีขนส่งสายเหนือ (หมอชิต 2) ถนนกำแพงเพชร 2 ทุกวัน

  • บริษัทขนส่งจำกัด
  • บริษัทสมบัติทัวร์
  • บริษัทนครชัยแอร์
  • บริษัทวิริยะแพร่ทัวร์

สายการบินในประเทศ

นกแอร์ – (กรุงเทพฯ ดอนเมือง) ทำการบินทุกวัน วันล่ะ 2 เที่ยวบิน

รถโดยสารประจำทางระหว่างต่างจังหวัดและกรุงเทพมหานคร

  • สาย 923 กรุงเทพ-แพร่ (กรุงเทพ-นครสวรรค์-พิษณุโลก-อุตรดิตถ์-แพร่) บริษัทผู้เดินรถ ได้แก่ บขส. สมบัติทัวร์ บุษราคัมทัวร์ นครชัยแอร์ (ปรับอากาศ ป.2 และ ปรับอากาศชั้นเดียว ป.1)
  • สาย 923-1 กรุงเทพ-แพร่-สอง (กรุงเทพ-นครสวรรค์-พิษณุโลก-อุตรดิตถ์-เด่นชัย-แพร่-สอง) บริษัทผู้เดินรถ ได้แก่ บขส. สมบัติทัวร์ (ปรับอากาศสองชั้น ป.1)
  • สาย 922 กรุงเทพ-พะเยา (กรุงเทพ-นครสวรรค์-พิษณุโลก-แพร่-พะเยา) บริษัทผู้เดินรถ ได้แก่ บขส. สมบัติทัวร์ เชิดชัยทัวร์
  • สาย 964 กรุงเทพ-วังชิ้น (แพร่) (กรุงเทพ-นครสวรรค์-กำแพงเพชร-ตาก-อ.เถิน-อ.วังชิ้น) บริษัทผู้เดินรถ ได้แก่ บขส. (ปรับอากาศชั้นเดียว ป.1)
  • สาย 910 กรุงเทพ-น่าน (กรุงเทพ-นครสวรรค์-พิษณุโลก-เด่นชัย-แพร่-ร้องกวาง-เวียงสา-น่าน) บริษัทผู้เดินรถ ได้แก่ บขส. สมบัติทัวร์ บุษราคัมทัวร์ นครชัยแอร์
  • สาย 96 กรุงเทพ-น่าน (กรุงเทพ-นครสวรรค์-กำแพงเพชร-สุโขทัย-อุตรดิตถ์-แพร่-ร้องกวาง-เวียงสา-น่าน) บริษัทผู้เดินรถ ได้แก่ บขส. เชิดชัยทัวร์ บุษราคัมทัวร์
  • สาย 47 กรุงเทพ-ทุ่งช้าง (กรุงเทพ-นครสวรรค์-พิษณุโลก-แพร่-เวียงสา-น่าน-ปัว-เชียงกลาง-ทุ่งช้าง) บริษัทผู้เดินรถ ได้แก่ บขส. สมบัติทัวร์
  • สาย 962 กรุงเทพ-เชียงของ (กรุงเทพ-วังทอง-แพร่-พะเยา-เทิง-เชียงของ) บริษัทผู้เดินรถ ได้แก่ บขส. สมบัติทัวร์ โชครุ่งทวีทัวร์ บุษราคัมทัวร์ เชิดชัยทัวร์ นครชัยแอร์
  • สาย 909 กรุงเทพ-เชียงราย (กรุงเทพ-นครสวรรค์-พิษณุโลก-แพร่-พะเยา-เชียงราย) บริษัทผู้เดินรถ ได้แก่ บขส. โชครุ่งทวีทัวร์ เชิดชัยทัวร์ สมบัติทัวร์
  • สาย 957 กรุงเทพ-แม่สาย (กรุงเทพ-นครสวรรค์-พิษณุโลก-แพร่-พะเยา-เชียงราย-แม่สาย) บริษัทผู้เดินรถ ได้แก่ บขส. สมบัติทัวร์ เชิดชัยทัวร์ โชครุ่งทวีทัวร์ นครชัยแอร์
  • สาย 660 ระยอง-เชียงราย-แม่สาย (ระยอง-พัทยา-ชลบุรี-ฉะเชิงเทรา-สระบุรี-พิษณุโลก-อุตรดิตถ์-แพร่-พะเยา-เชียงราย-แม่สาย) บริษัทผู้เดินรถ ได้แก่ นครชัยแอร์
  • สาย 660 ระยอง-แพร่-น่าน (ระยอง-พัทยา-ชลบุรี-ฉะเชิงเทรา-สระบุรี-พิษณุโลก-อุตรดิตถ์-แพร่-ร้องกวาง-เวียงสา-น่าน) บริษัทผู้เดินรถ ได้แก่ นครชัยแอร์
  • สาย 661 เชียงราย-นครพนม (นครพนม-สกลนคร-อุดรธานี-เลย-พิษณุโลก-อุตรดิตถ์-แพร่-พะเยา-เชียงราย) บริษัทผู้เดินรถ ได้แก่ สมบัติทัวร์ จักรพงษ์ทัวร์
  • สาย 622 พิษณุโลก-เชียงราย-แม่สาย (สายเก่า) (พิษณุโลก-สุโขทัย-สวรรคโลก-ศรีสัชนาลัย-อุตรดิตถ์-แพร่-พะเยา-เชียงราย-แม่สาย) บริษัทผู้เดินรถ ได้แก่ สุโขทัยวินทัวร์
  • สาย 624 พิษณุโลก-เชียงของ (สายใหม่) (พิษณุโลก-อุตรดิตถ์-แพร่-พะเยา-เชียงคำ-เชียงของ) บริษัทผู้เดินรถ ได้แก่ สุโขทัยวินทัวร์
  • สาย 622 พิษณุโลก-เชียงราย (สายใหม่) (พิษณุโลก-อุตรดิตถ์-แพร่-พะเยา-เชียงราย) บริษัทผู้เดินรถ ได้แก่ สุโขทัยวินทัวร์
  • สาย 613 พิษณุโลก-น่าน-ทุ่งช้าง (พิษณุโลก-อุตรดิตถ์-แพร่-น่าน-ทุ่งช้าง) บริษัทผู้เดินรถ ได้แก่ สุโขทัยวินทัวร์ และ นครน่านทัวร์
  • สาย 663 นครสวรรค์-เชียงราย (นครสวรรค์-พิษณุโลก-อุตรดิตถ์-แพร่-พะเยา-เชียงราย) บริษัทผู้เดินรถ ได้แก่ นครสวรรค์ยานยนต์ (ถาวรฟาร์มทัวร์)
  • สาย 633 ขอนแก่น-เชียงราย (ขอนแก่น-ชุมแพ-หล่มสัก-พิษณุโลก-อุตรดิตถ์-แพร่-งาว-พะเยา-เชียงราย) บริษัทผู้เดินรถ ได้แก่ อีสานทัวร์ สมบัติทัวร์
  • สาย 651 นครราชสีมา-แม่สาย (นครราชสีมา-สระบุรี-โคกสำโรง-ตากฟ้า-เขาทราย-วังทอง-พิษณุโลก-อุตรดิตถ์-แพร่-พะเยา-เชียงราย) บริษัทผู้เดินรถ ได้แก่ นครชัยทัวร์
  • สาย 780 ภูเก็ต-เชียงราย (ภูเก็ต-สุราษฎร์ธานี-ชุมพร-ประจวบฯ-เพชรบุรี-อยุธยา-นครสวรรค์-พิษณุโลก-แพร่-พะเยา-เชียงราย) บริษัทผู้เดินรถ ได้แก่ โชครุ่งทวีทัวร์ และไทยพัฒนกิจขนส่ง
  • สาย 877 หาดใหญ่-เชียงราย-แม่สาย (แม่สาย-เชียงราย-พะเยา-แพร่-อุตรดิตถ์-พิษณุโลก-ทุ่งสง-พัทลุง-หาดใหญ่-ด่านนอก) บริษัท ปิยะชัยพัฒนาทัวร์
  • สาย 1692 เชียงใหม่-ทุ่งช้าง (เชียงใหม่-ลำปาง-เด่นชัย-แพร่-ร้องกวาง-น่าน-ปัว-เชียงกลาง-ทุ่งช้าง) บริษัท ไทยพัฒนกิจขนส่ง จำกัด
  • สาย 1693 ลำปาง-แพร่ (ลำปาง-แม่แขม-เด่นชัย-สูงเม่น-แพร่) บริษัท ไทยพัฒนกิจขนส่ง จำกัด
  • สาย 144 เชียงราย-เด่นชัย (เชียงราย-พาน-พะเยา-งาว-แพร่-เด่นชัย) บริษัท แพร่ยานยนต์ขนส่ง (หนานคำทัวร์) จำกัด
  • สาย 143 อ.เฉลิมพระเกียรติ-น่าน-อ.เด่นชัย (ห้วยโก๋น-เฉลิมพระเกียรติ-ทุ่งช้าง-เชียงกลาง-ปัว-น่าน-เวียงสา-ร้องกวาง-แพร่-เด่นชัย) บริษัท นครน่านยานยนต์ขนส่ง จำกัด
  • สาย 146 ลำปาง-แพร่ (ลำปาง-ม.ราชภัฏลำปาง-แม่ทะ-แม่แขม-ลอง-แพร่) บริษัท สหกรณ์นครลำปางเดินรถ จำกัด
  • สาย 135 พิษณุโลก-สุโขทัย-แพร่ (แพร่-เด่นชัย-ศรีสัชนาลัย-สวรรคโลก-สุโขทัย-พิษณุโลก) บริษัทผู้เดินรถ (รถตู้) สุโขทัยวินทัวร์

พิพิธภัณฑ์บ้านวงศ์บุรี จังหวัดแพร่

สถานที่ท่องเที่ยวน่าสนใจ จังหวัดแพร่

1. ถ้ำผานางคอย

จุดเด่นของถ้ำแห่งนี้ อยู่ตรงที่ภายในถ้ำมีหินงอก หินย้อย ที่สวยงาม บางอันเป็นหินที่ย้อยยาวลงมาถึงพื้นถ้ำเลย และโดยภาพรวมที่นักท่องเที่ยวได้ไปสัมผัสและนิยมชมชอบก็คือ หินที่นี่มีประกายระยิบระยับ อีกทั้งมีไฮไลต์คือ หินที่มีลักษณะที่ทำให้คนมองว่า เหมือนกับผู้หญิงอุ้มลูกนิ่งอยู่ที่ปลายถ้ำ จึงเรียกว่า ถ้ำผานางคอย

ภายนอกจะมองเห็นเป็นเขาหินปูนที่อยู่ท่ามกลางแมกไม้เขียวชอุ่มสมบูรณ์ นับเป็นที่แรกๆ สำหรับคนเที่ยวแพร่ที่ไม่ควรพลาด

2. วนอุทยานแพะเมืองผี

ชื่อเสียงของแกรนด์แคนย่อนเมืองแพร่แห่งนี้ จุดเด่นคือสภาพทางธรณีวิทยาที่น่าทึ่ง พื้นที่เนิน กรวดหินดินทรายแห่งนี้ ผ่านกาลเวลาและการกัดกร่อนจากธรรมชาติจนกลายเป็นหินทรายที่มีรูปร่าง ลวดลาย ช่อชั้นที่แตกต่างเพราะการกร่อนเซาะที่ไม่เท่ากัน ช่างเป็นความน่าพิศวง สวยงามและน่าทึ่ง อีกทั้ง ชาวบ้านยังมีความเชื่อว่าเป็นสถานที่ศักดิ์สิทธิ์

3. อุทยานแห่งชาติ “ดอยผากลอง”

ความมหัศจรรย์ทางธรณีวิทยาของเมืองแพร่ยังไม่หมด เพราะที่อุทยานแห่งชาติแห่งนี้ก็มีกับเขาเหมือนกัน เพียงเห็นภาพก็รู้สึกว่าน่าทึ่ง แม้ที่นี่โดยรวมจะเป็นพื้นที่ของภูเขาที่สูงชัน หากมีบางจุดที่เป็นพื้นที่ราบบนเขา และมีแท่งหินโผล่ขึ้นมาจากพื้น เป็นหินปูนสีธรรมชาติ วางตัวสูงต่ำ สลับซับซ้อน ต่างรูปต่างร่าง งดงามน่าทึ่ง มีชื่อเรียกว่า สวนหินมหาราช

ไม่ใช่เฉพาะสวนหินที่น่าทึ่ง อุทยานแห่งชาติแห่งนี้ยังมีถ้ำเอราวัณที่ทั้งสวย ทั้งกว้างและลึก จุดไฮไลต์คือ หินงอกหินย้อยที่มีรูปร่างคล้ายช้างเอราวัณ ตามตำนานความเชื่อโบราณ อีกทั้งบริเวณปากถ้ำยังมีพระพุทธรูปองค์ใหญ่ที่คนผ่านไปแถวนั้นจะเห็นได้ตั้งแต่ระยะไกล

4. น้ำตกตาดหมอก

เที่ยวที่เย็น ๆ ไปน้ำตกบ้างดีกว่า ที่นี่เรียกอีกชื่อว่า น้ำตกแม่คอย เป็นน้ำตกจากเขาสูง มี 3 ชั้น ทำให้เห็นม่านน้ำตกเหมือนแพรผ้าขาวบางยามกระทบกับภูเขาหิน สวยงาม การเดินทางเข้าไปถึง ก็เดินเท้าเพียง 1 กิโลเท่านั้น สำหรับคนชอบเที่ยวน้ำตกแล้ว ระยะทางเท่านี้ ใกล้มาก

5. วัดจอมสวรรค์

หันมาดูสายบุญ สายธรรมะบ้าง การเข้าสักการะพระประธานประจำวัดเป็นสิ่งที่ชาวพุทธมักทำประจำในทุกทางผ่าน ยิ่งเข้าสู่จังหวัดอื่น ๆ ด้วยแล้ว อย่างน้อยต้องมีสัก 1 วัดที่นักท่องเที่ยวจะแวะเข้าไป แต่ถ้ามีผลพลอยได้จากการได้ชมสถาปัตยกรรมงดงามที่แตกต่างจากวัดอื่น นั่นถือเป็นสิ่งที่เชิญชวนมากขึ้น ที่วัดจอมสวรรค์แห่งนี้สร้างขึ้นตามแนวศิลปะพม่า ลักษณะที่พบจึงไม่เหมือนวัดทั่วไป สวยงามและชวนเก็บภาพเป็นที่ระลึก

ส่วนอีกวัดที่อยากแนะนำ ด้วยความวิจิตรที่น่าไปชมก็คือ วัดพระธาตุสุโทนมงคลคีรี

วัดพระธาตุสุโทนมงคลคีรีสามัคคีธรรม จังหวัดแพร่

6. คุ้มเจ้าหลวงเมืองแพร่

สิ่งก่อสร้างเก่าแก่ที่สร้างขึ้นตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 5 เป็นสถาปัตยกรรมที่ทันสมัยของยุคนั้นที่มีการผสมผสานศิลปะไทยกับศิลปะยุโรปเข้าด้วยกัน เพราะช่วงนั้น มีการส่งเจ้านายชั้นสูงไปศึกษาต่างประเทศ รวมถึงการเสด็จประพาสยุโรปมาก ทำให้มีการรับเอาสิ่งดีๆ ของต่างประเทศเข้ามาพัฒนาประเทศไทย การได้ชมงานเก่าๆ ที่ยังคงสวยงาม ได้ย้อนประวัติศาสตร์จึงเป็นการท่องเที่ยวที่ลงตัว

ตั๋วเครื่องบิน

ที่พัก จังหวัดแพร่


ค้นหาเที่ยวบินและที่พัก

บทความก่อนหน้านี้
บทความถัดไป

บทความ ข่าวสาร มาใหม่

ททท. ต้อนรับนักท่องเที่ยวชาวลาวบนรถไฟทดลองเต็มรูปแบบจากเวียงจันทน์สู่กรุงเทพฯ

กรุงเทพฯ 14 กรกฎาคม 2567 – การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) ร่วมกับ การรถไฟแห่งประเทศไทย...

พรีวิว: โคปา อเมริกา 2024 จัดที่สหรัฐอเมริกา

โคปา อเมริกา 2024 เป็นการแข่งขันฟุตบอลระดับทวีปอเมริกาใต้ครั้งที่ 48 แต่จะจัดขึ้นที่สหรัฐ...

ตลาดนัดแม่สาย: การค้าชายแดนไทย-พม่า

ตลาดนัดแม่สายตั้งอยู่ในอำเภอแม่สาย จังหวัดเชียงราย ซึ่งเป็นจุดเชื่อมต่อสำคัญระหว่างประเทศไ...

วิธีการเลือกอาหารที่มีประโยชน์ต่อสุขภาพ

ความสำคัญของการเลือกอาหารที่มีประโยชน์ การเลือกอาหารที่มีประโยชน์ต่อสุขภาพมีความสำคัญอย่า...

ประโยชน์ของการออกกำลังกายเป็นประจำ

การออกกำลังกายเป็นประจำมีบทบาทสำคัญในการเพิ่มสมรรถภาพทางกายอย่างมีประสิทธิภาพ การออกกำลังก...